องค์ประกอบสำคัญที่ช่วยให้การสอบเทียบเป็นไปอย่างถูกต้อง

การสอบเทียบ

การสอบเทียบอย่างมีคุณภาพและได้มาตรฐาน วัดกันที่ตรงไหน

ผู้ประกอบการที่ต้องใช้เครื่องมือในการวัดผลต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิต มีความจำเป็นต้องเข้ารับการสอบเทียบเครื่องมือวัดทุก ๆ 1 ปี หรือเมื่อใดก็ตามที่เครื่องมือวัดที่ใช้งานอยู่ เริ่มแสดงผลลัพธ์ที่มีความคลาดเคลื่อนไปจากค่าเดิมแบบซ้ำ ๆ เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าผลจากการวัดนั้นอาจไม่แม่นยำอีกต่อไปแล้ว ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิต และสร้างปัญหาใหญ่อย่างคาดไม่ถึงในภายหลังได้ ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรนำเครื่องมือวัดเข้ารับการสอบเทียบ เพื่อให้อุปกรณ์สามารถใช้งานได้ตามมาตรฐาน ไม่แสดงค่าที่ผิดเพี้ยน มีความแม่นยำได้มาตรฐานดังเดิม อันจะส่งเสริมคุณภาพการผลิตสินค้าให้เป็นไปตามมาตรฐานต่อไป

มาตรฐาน ISO/IEC 17025 ถือเป็นมาตรฐานการสอบเทียบระดับสากล ที่สามารถใช้ยืนยันความสามารถของการดำเนินการสอบเทียบ และมาตรฐานการบริหารจัดการห้องปฏิบัติการสอบเทียบ โดยมาตรฐานนี้ดูแลครอบคลุมตั้งแต่ระบบบริหารคุณภาพของห้องปฏิบัติการสอบเทียบ ไปจนถึงข้อกำหนดต่าง ๆ ที่มีผลต่อการดำเนินการสอบเทียบ เพื่อให้การสอบเทียบนั้นเป็นได้มาตรฐานที่ยอมรับในระดับสากล อุปกรณ์เครื่องมือที่ผ่านการสอบเทียบสามารถนำไปใช้ในกระบวนการผลิต เพื่อส่งออกผลผลิตไปยังนานาประเทศได้ โดยไม่ต้องทำการทดสอบคุณภาพของสินค้าซ้ำอีกครั้งในประเทศคู่ค้า

การสอบเทียบเครื่องมือวัด มีองค์ประกอบสำคัญที่ยึดเป็นหลักในการควบคุมคุณภาพของการสอบเทียบ ซึ่งได้กำหนดไว้ในมาตรฐาน IOS/IEC 17025 ประกอบด้วย 4 ส่วนสำคัญ ดังต่อไปนี้

1. มาตรฐานเครื่องมือวัดอ้างอิง
การเลือกเครื่องมือวัดอ้างอิงในการสอบเทียบ จะต้องเป็นเครื่องมือมาตรฐานตาม ISO 10012-1 ที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงกว่าเครื่องมือที่นำมาสอบเทียบมากกว่า 3 เท่าขึ้นไป และเครื่องมือวัดอ้างอิงที่นำมาใช้ จะต้องมาพร้อมกับระบบการตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) หรือมีคุณสมบัติของผลการวัด ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงระดับการอ้างอิงของมาตรฐานสากล สู่หน่วยมูลฐาน (SI Unit) ได้ โดยไม่มีการขาดช่วงของการเปรียบเทียบทั้งหมด และต้องมีการระบุความไม่แน่นอนในการวัดเอาไว้ด้วย
มาตรฐานการวัด สามารถแบ่งออกเป็น 7 มาตรฐาน ได้แก่ มาตรฐานการวัดปฐมภูมิ, มาตรฐานทุติยภูมิ, มาตรฐานการวัดระหว่างประเทศ, มาตรฐานการวัดแห่งชาติ, มาตรฐานอ้างอิง, มาตรฐานถ่ายทอด และ มาตรฐานขั้นการใช้งาน

2. การเลือกวิธีการสอบเทียบ
วิธีการสอบเทียบที่เหมาะสม ถือเป็นตัวแปรสำคัญที่จะทำให้การสอบเทียบนั้นมีความถูกต้อง แม่นยำ เครื่องมือวัดได้รับการสอบเทียบตรงตามจุดประสงค์การใช้งานของผู้ประกอบการ รวมถึงการเลือกจุดสอบเทียบอย่างชาญฉลาด เพื่ออำนวยความสะดวกในการสอบเทียบ และลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการได้ ในปัจจุบันมีวิธีการสอบเทียบเครื่องวัดหลากหลายวิธี เช่น การสอบเทียบมาตรฐาน ISO, การสอบเทียบมาตรฐาน ASTM, การสอบเทียบมาตรฐาน DIN หรือ การสอบเทียบมาตรฐาน JIS เป็นต้น

3. ปัจจัยแวดล้อมในห้องปฏิบัติการสอบเทียบ
ห้องปฏิบัติการสอบเทียบต้องเป็นไปตามมาตรฐาน ISO/IEC 17025 กล่าวคือประกอบด้วยเครื่องมือมาตรฐานที่ดีกว่าตั้งแต่ 3 เท่าขึ้นไป จนถึง 10 เท่า มีการควบคุมคุณภาพของสภาพแวดล้อมในห้องปฏิบัติการ ให้มีความเหมาะสมต่อการสอบเทียบ ทั้งในด้านความผันผวนของของอุณหภูมิ ค่าความชื้น แสงสว่างในห้องปฏิบัติการ และตัวแปรจากการสั่นสะเทือนในพื้นที่ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนแล้วแต่สามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพและความถูกต้องของการสอบเทียบได้

4. ความสามารถของผู้ทำการสอบเทียบ
ผู้ทำหน้าที่ควบคุมกระบวนการสอบเทียบ จะต้องเป็นบุคคลผู้มีความรู้ความสามารถในด้าน Calibration ได้รับการฝึกอบรม และมีประสบการณ์การสอบเทียบตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดไว้ มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ Accuracy และรู้วัตถุประสงค์ของเครื่องมือวัด ตลอดจนมีความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลการสอบเทียบ และการประเมินความไม่แน่นอนของการวัด (Measurement Uncertainty) ที่สามารถระบุไว้อย่างชัดเจนได้ เพื่อให้ผลการสอบเทียบนั้นมีความน่าเชื่อถือ และสามารถดำเนินการสอบเทียบได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐาน IOS/IEC 17025

จะเห็นว่าการสอบเทียบอย่างมีคุณภาพได้มาตรฐาน IOS/IEC 17025 นั้น ต้องอาศัยความเอาใจใส่ในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่มีความซับซ้อนเป็นอย่างมาก เพื่อให้การสอบเทียบได้ผลลัพธ์ที่มีความเที่ยงตรง ลดความไม่แน่นอนในการรับรองความถูกต้องของอุปกรณ์ที่นำมาทดสอบ และยกระดับเครื่องมือวัดให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการใช้งานในอุตสาหกรรมอย่างแท้จริง

ผู้ประกอบการที่ต้องการสอบเทียบมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม สามารถขอเข้ามาคำแนะนำปรึกษาจากทีมผู้เชี่ยวชาญ บริษัท มิราเคิล อินเตอร์เนชั่นแนล เทคโนโลยี จำกัด (MIT) ผู้ให้บริการการสอบเทียบแบบครบวงจร บริการสอบเทียบเครื่องมือวัดจากอุตสาหกรรมทุกประเภท พร้อมบริการซ่อมเครื่องมือวัดแบบครบจบในที่เดียว เราให้บริการแบบ One Stop Service ชำนาญการด้านรายละเอียดทางเทคนิคในการใช้งานทุกเครื่องมือ พร้อมให้ความสำคัญกับทุกการวัด เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้ใช้งานมีความมั่นใจในผลลัพธ์ของการสอบเทียบ สามารถใช้เครื่องมือได้อย่างสบายใจ การันตีความไว้วางใจในการเลือกใช้บริการจากอุตสาหกรรมระดับชั้นนำในทุกภูมิภาคของประเทศไทย มาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 23 ปี
บริษัท มิราเคิล อินเตอร์เนชั่นแนล เทคโนโลยี จำกัด (MIT) บริการสอบเทียบเครื่องมือวัด Calibration ครอบคลุมทุกสาขาการวัด ตรวจสอบ Lab Calibration ตั้งแต่โรงงานการผลิตอุตสาหกรรม ห้องปฏิบัติการ ไปจนถึงเครื่องมือทางการแพทย์ เวชกรรม ตลอดจนรถฉุกเฉินทางการแพทย์ บริการให้คำปรึกษาและฝึกอบรมเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับมาตรฐาน ISO/IEC 17025 พร้อมการให้บริการที่มีความรวดเร็ว ฉับไว ทันใช้เอกสารทันที ด้วยแอปพลิเคชัน MIT iPlus เข้าให้บริการการสอบเทียบในพื้นที่หน้างานจริงของสถานประกอบการคุณถึงที่ รับทราบผลการสอบเทียบ และการปรับค่าเครื่องมือจากทีมวิศวกรผู้ชำนาญการได้ในทันที ด้วยผลการสอบเทียบที่มีความแม่นยำในระดับสากลโลกที่น่าเชื่อถือที่สุดของเรา

“MIT – The best calibration you can trust.”
มิราเคิล อินเตอร์เนชั่นแนล เทคโนโลยี การสอบเทียบอย่างมีคุณภาพ ที่คุณไว้วางใจได้

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

บริษัท มิราเคิล อินเตอร์เนชั่นแนล เทคโนโลยี จำกัด

สายด่วน : +66 (0)87-779-5111
Line : @mitiplus
Facebook : Miracle International Technology Co., Ltd.
อีเมล : info@mit.in.th